เราจะประสบความสำเร็จได้ในวันที่เราล้มเหลวจนชิน
สิ่งที่สำคัญในยุคใหม่ คือ กล้ามองมันตรง ๆ ทำไมเราถึงผิดพลาด ทำไมเราถึงล้มเหลวและการผิดพลาดล้มเหลว มันจะเป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จได้ กล้าทดลองสิ่งใหม่ ๆ ก็จะเกิดนวัตกรรม การเรียนรู้ที่มากมายมหาศาล ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อตัวเราเองและสังคม
เราต้องมีความยืดหยุ่นระดับนึงที่สามารถรับได้ อาจต้องมีคนที่คอยช่วยเหลือสนับสนุน มีโค้ชที่คอยบอกว่า ‘ล้มเหลวแล้วจะทำอย่างไร ถึงจะไม่รู้สึกท้อแท้’
เปิดใจดูว่าเราเรียนรู้อะไรได้บ้างจากความล้มเหลว
บางครั้งความล้มเหลวเกิดจากความผิดพลาดของตัวเราเอง เราก็ใช้มันเป็นบทเรียน
บางครั้งความล้มเหลวอาจจะไม่ได้เกิดจากความผิดพลาดก็ได้ มันเป็นเรื่องช่วยไม่ได้ มันเป็นความเสี่ยง
ถ้าเรายอมรับความล้มเหลวไม่ได้ แล้วพยายามใช้ทุกสิ่งทุกอย่างมาปกปิดมันไว้ ท้ายที่สุดแล้วมันจะทำร้ายทั้งตัวเราและสังคม
ไม่ค่อยตอบโจทย์เท่าไร เพราะมันค่อนข้างจะกำหนดสกิลต่าง ๆ ไว้อย่างเฉพาะเจาะจง พอไปทำงานจริง ค่อยไปเรียนรู้อีกที การศึกษาจะเน้นวิชาการ ไม่ได้เชื่อมโยงกับด้านอุตสาหกรรมขนาดนั้น
การเป็นผู้ฟังที่ดี ต้องบาลานซ์ระหว่างไม่ฟังมากเกินไปหรือน้อยเกินไป
ฟังมากเกินไป = ไม่มีความเชื่อในไอเดียของตัวเอง ถึงเวลาก็จะเปลี่ยนตลอด เพราะเดี๋ยวคนนู้นบอกให้ทำอย่างนี้ เดี๋ยวคนนี้บอกให้ทำอย่างนั้น ถ้าฟังคนอื่นมากเกินไป สุดท้ายก็จะเป็นได้แค่ไอเดีย ไม่ได้ลงมือทำให้เป็นชิ้นเป็นอัน
ฟังน้อยเกินไป = เราอาจพลาดที่จะปรับงานของเราให้ดีขึ้น เพราะบางทีคนอื่นอาจจะมองเห็นในจุดที่เรามองไม่เห็น ถ้าเราไม่ฟังใครเลย เราก็จะมองไม่เห็นจุดนั้น
ในปัจจุบัน ผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้าน พนักงานขาย อาจจะใช้เทคโนโลยีพวก E-commerce เข้ามาเสริมได้
ลองตั้งแต่ตอนเป็นนักเรียนก็ได้ จะได้รู้ว่าการทำธุรกิจมันใช่สำหรับเราไหม ถ้ามันใช่ เราก็ทำต่อ ถ้าไม่ใช่ เราก็เปลี่ยน เทคโนโลยีเป็นตัวช่วยให้เราลองอะไรใหม่ ๆ ได้ง่ายขึ้น
แต่มันก็มีด้านมืดของเทคโนโลยี ในแง่ของคนที่อยากเป็นผู้ประกอบการ
สังเกตได้ดังนี้
ดูง่าย รวยเร็ว ทางลัดโตทีเป็น1000%
ดูมีอิสระมหาศาล
จริงอยู่ที่การเป็นผู้ประกอบการ เราจะไม่มีนายของเรา ทว่าในโลกธุรกิจ ลูกค้า คือ นายของเรา สิ่งที่ตลาดต้องการ คือ นายของเรา เพราะฉะนั้นเราก็มีเจ้านายของเรานั่นแหละ บางคนคิดว่า มีเวลาอิสระ เมื่อคุณเป็นผู้ประกอบการแล้ว คุณจะไม่มีเวลาเป็นของตัวเอง คุณจะมาคิดว่า ทำพอหรือยังสำหรับธุรกิจนี้ ทำได้มากกว่านี้ไหม ไปหาคนอื่นดีไหม จริง ๆ แล้ว มันไม่มีวันหยุดเลย
การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นไวมาก ไม่มีใครคาดเดาได้ว่า โลกในอนาคตจะเป็นอย่างไร เมื่อคาดเดาไม่ได้ โลกมันจึงมีความไม่แน่นอน ผันผวนสูง แปลว่าตัวเราต้องปรับตัวได้ไปเรื่อย ๆ
ปัจจุบันเราอยู่ในยุคปลาไวกินปลาช้า คนที่ปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว ตามเทรนด์การเปลี่ยนแปลงของโลกได้ทันเท่านั้นถึงจะอยู่รอด เพราะฉะนั้น เราต้องเป็นคนที่เปิดกว้าง พร้อมเรียนรู้ พร้อมรับข้อมูลใหม่ ๆ อยู่เสมอ
ถ้าสิ่งที่เราทำยังไม่เวิร์ค เราก็ต้องคอยทดลองเรียนรู้ หาคำตอบใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา อันนี้คือทักษะที่สำคัญมาก ที่เกิดจากการรวมสิ่งดังนี้เข้าด้วยกัน
ลดอีโก้ของตัวเอง
กล้าเปลี่ยนแปลงตัวเอง
มีความถึก ทน แม้ว่าจะผิดพลาด จะล้มเหลว เราก็ต้องสามารถลุกขึ้นมาใหม่ได้
มุมวัยรุ่น : การทำตามสมัยก่อน ทำอาชีพเดียวมันไม่ใช่ ทำแล้วเปลี่ยนดีกว่า
มุมผู้ใหญ่ : คุณไม่สู้ชีวิตเลย ถ้าคุณไม่สู้ คุณจะไปทำอะไร มันก็ไม่สำเร็จทั้งนั้นแหละ
ไม่ต้องถามว่าใครถูก ถูกทั้งสองฝ่าย เพราะว่าความอดทนก็เป็นส่วนสำคัญมากในการที่จะก้าวต่อไปในอนาคตได้ ขณะเดียวกัน เด็กก็ถูกอย่างนึงว่า มันไม่ใช่โลกที่จะต้องทำอยู่อย่างเดียว เราอาจจะเปลี่ยนแนวทางเดินก็ได้ เวลาจะเปลี่ยนสายงานให้ถามตัวเองดี ๆ ว่า อยากจะหนีความล้มเหลวหรือเปล่า อยากหนีความผิดพลาดหรือเปล่า ลึก ๆ จริง ๆ เหตุผลคืออะไร สำคัญที่สุดคือการกลับมารู้จักตัวเอง
บางครั้งถ้าเราเตรียมตัวพร้อม แต่ว่าโอกาสมันยังไม่ได้มา ก็จะไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน หากมีโอกาสมาแต่เราไม่เตรียมพร้อม มันก็จะไม่มีอะไรเกิดขึ้นเช่นกัน
เหมือนกับคนที่ว่ายน้ำอยู่ในทะเล คลื่นมาแล้ว ถ้าเราไม่มีกระดานบอร์ดอยู่ในมือ เราก็โต้คลื่นนั้นไปข้างหน้าไม่ได้
จริง ๆ แล้ว เราต้องเตรียมพร้อมและรอตลอดเวลา แต่ว่า ‘การที่ไม่มีอะไรเกิดขึ้น’ มันไม่ได้แปลว่า ‘เราผิด’
การที่เราถือกระดานบอร์ดในมือแล้วว่ายน้ำ มันอาจจะเหนื่อยกว่าปกติ แต่มันไม่ได้หมายความว่า ‘เราผิด’ เพราะวันนึงที่โอกาสมันมา จะเกิดความที่คนอื่นเรียกว่า ‘โชคดี’
เราเตรียมพร้อมตลอดเวลา สุดท้ายโอกาสมันมาแน่นอน แล้ววันที่โอกาสมา มันจะเป็นวันที่เราประสบความสำเร็จ
ทำงานภาคสังคม ไม่ได้แปลว่า คุณมีใจรักสังคมเสมอไป ในขณะที่คนทำงานภาครัฐ เอกชน อาจจะมีใจทำเพื่อสังคมก็ได้
เราอาจจะทำงานเพื่อหาเงิน แล้วค่อยไปช่วยเหลือสังคมในด้านอื่น บางทีคนเราอาจจะยังขาดบุคคลต้นแบบ(Role Model) ที่ไปทำภาคสังคมให้เห็นชัด ๆ ก็เลยไม่อยากเข้าไปทำตรงนั้น
ทำไมพี่ต้นสนถึงอยากทำงานภาคสังคม
เป็นคนชอบลองทำอะไรใหม่ ๆ ชอบท้าทายตัวเอง
รู้สึกว่า อยากเรียนอะไร ก็ต้องเข้าไปเรียนรู้จากคนที่เขาทำเรื่องนั้นอยู่แล้ว ทำนองเดียวกับอยากได้ลูกเสือ ก็ต้องเข้าถ้ำเสือ
การจดเป็นสิ่งที่ดีอย่างนึง เพราะการจดมันทำให้ไม่ลืมและช่วยให้เรารู้ด้วยว่า ช่วงไหนเรามีไอเดียเยอะ ช่วงไหนเรามีไอเดียน้อย พอไปดูจะพบว่า ช่วงที่เรามีคอนเทนต์ใหม่ ๆ เป็นช่วงที่เราพบปะกับคนใหม่ ๆ มันเป็นตัวกระตุ้นว่า เราออกจากComfort Zone เราพอหรือยัง มีความหลากหลายพอไหม ในการคิดไอเดียหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นมาในหัว ช่วงไหนที่รู้สึกว่าเราอยู่ใน Comfort Zone เยอะไปแล้ว ไอเดียมันไม่ค่อยมาแล้ว เราก็ต้องเริ่มไปฟังพอดแคสต์บ้าง ไปดูเลกเชอร์อะไรใหม่ ๆ ที่มันอยู่นอกสายงานตัวเองหรือไม่ก็ไปพบปะผู้คน
ความหลากหลายที่ได้จากสิ่งที่เราไม่ชอบ มันกระตุ้นตัวเราได้เหมือนกันและมันก็ช่วยให้เราเปิดกว้างขึ้น สามารถเข้าใจคนอื่นได้มากขึ้น การที่เราสามารถอยู่กับคนอื่นได้ ในขณะที่เราคิดต่างกัน มันก็เป็นสกิลอย่างนึงที่สำคัญ บางครั้งมันก็เกิดไอเดียใหม่ ๆ ได้เหมือนกัน
ชอบคนที่ถามคำถามดี ถามคำถามให้ได้คิดในมุมมองใหม่ ๆ ที่เราไม่เคยคิดมาก่อน
ชอบคนที่มีแพสชันมาก ๆ กับเรื่องบางเรื่อง ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่เราไม่คุ้นก็ได้ อาจจะเป็นเรื่องภาพยนตร์ เกมE-sports หรือวงการบางวงการ
คนที่มีแพสชันมาก ๆ มักจะมีอะไรใหม่ ๆ ให้เราได้เรียนรู้อยู่เสมอ ว่าทำไมเขาถึงทุ่มเทตรงนั้น เราเห็นความเหมือนในความต่างว่า เขาอาจจะทุ่มเทสิ่งนั้นมากมายที่เราไม่เข้าใจ แต่สุดท้ายแล้ว แพสชันมันมีหลายอย่างคล้ายกัน เราก็ทุ่มเทในสิ่งที่เราชอบเหมือนกัน
ลืมตัว รู้สึกมั่นใจในตัวเองมากเกินไป
ลืมรับฟังคนอื่น ไม่เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ
คิดว่า ตัวเองเป็นกูรูแล้ว เป็นคนที่รู้มากแล้ว เป็นน้ำเต็มแก้ว เพราะในโลกปัจจุบันและอนาคต จะมีการเปลี่ยนแปลงมหาศาล ประสบการณ์ที่เรามีมา ที่เคยสะสมมา มันอาจจะไม่ได้มีความสำคัญเท่าเดิมก็ได้
บางคนคิดว่า ตัวเองเกิดมาเป็นแบบนี้แล้วมีความเหนือคนอื่น มีความเก่งกว่าคนอื่น พอมันมีแบบนี้มาก ๆ ก็จะไม่เป็นประโยชน์อะไร จะมองเห็นแต่ตัวเอง ไม่เห็นคนอื่น มองตัวเองยอดเยี่ยม
ไม่มีใครเปลี่ยนเราได้ นอกจากตัวเราเอง เพราะฉะนั้นการเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงสังคม มันต้องเริ่มจากการเปลี่ยนตัวเองก่อน
มาพูดให้เราฟัง เราก็ลืมอยู่ดี แต่ทำให้เราดู เราจะจำได้ แต่ถ้าเอาเราไปร่วมทำด้วย เราจะเรียนรู้และเข้าใจมากขึ้น แล้วถ้าสร้างแรงบันดาลใจให้เรา เราก็จะเปลี่ยน แล้วลงมือทำ