ทำไมคนเราถึง'ตกหลุมรัก' ง่าย แต่ 'Move on' ยาก | นพ.ปีย์ เชษฐ์โชติศักดิ์

ทำไมคนเราถึง “ตกหลุมรักง่าย” ?

“มันมีเหตุผลในความรู้สึกเสมอ”...

เหตุผลที่เรารักใครสักคนมันมีมากกว่าแค่ความรู้สึกแน่นอน... ไม่ว่าจะเป็นอิทธิพลของปริมาณฮอร์โมนในช่วงนั้น หน้าตาหรือสัญชาติญาณของมนุษย์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้มนุษย์ต้องเกิด “ความรู้สึกดีต่อกัน”

งั้นคนเราชอบกันที่ “หน้าตา” จริงเหรอ?

นกยูงรำแพนหางเพื่ออวดความงาม... เสือที่ต่อสู้กันจนเลือดตกยางออก...ล้วนทำเพื่อแย่งตัวเมีย...

มันเป็นสิ่งที่อยู่ในสายเลือด มันคือสัญชาติญาณอยู่ในพันธุกรรมของสัตว์ทุกชนิดบนโลก นั่นก็ “สืบทอดยีนส์” ของตัวเองให้ได้ไปสู่รุ่นต่อ ๆ ไป ตัวผู้ต้องต่อสู้ แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่ง เพื่อที่ตัวเมียจะได้ยอมผสมพันธ์ ส่วนตัวเมียก็จะเลือกตัวผู้ที่แข็งแกร่งและสมบูรณ์ที่สุด และอาจจะมีเกณฑ์แตกต่างกันไปตามสานพันธุ์... ในมนุษย์ก็คล้าย ๆ กัน พวกเราชอบคนกันที่ “หน้าตา” เพราะหน้าตารูปลักษณ์เป็นสิ่งแรกที่เราเห็น สิ่งแรกที่เราพอจะประเมินคน ๆ นั้นได้คร่าว ๆ แต่ก็จะมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้มนุษย์ทุกคนไม่ได้ให้ความสำคัญแค่กับหน้าตาเท่ากัน

เช่น ผู้หญิงจะไม่ค่อยสนใจว่าหล่อหรือเปล่า ขอแค่พอใช้ได้ แต่ต้องมีความเป็นผู้นำสามารถดูแลตัวเองได้

หมดโปรฯ

แต่สุดท้ายแล้วความรักจะยืนยาวหรือเปล่า ก็เป็นเรื่องของหลังช่วงหมดโปรฯนี่แหละ...

คุณหมอปีย์เล่าว่าตั้งแต่สมัยอดีตผู้หญิงกับผู้ชายตกหลุมรักกันเร็วแล้วก็มีลูกกันเร็ว ดังนั้นผู้ชายจะคอยดูแล คอยเอาใจใส่ผู้หญิงเป็นพิเศษในช่วงที่ท้อง ที่ดูแลตัวเองไม่ได้ แล้วพอเลยช่วงนั้นช่วงเวลาโปรโมชั่นก็จะหยุดลง...

แล้วช่วงโปรโมชั่นดังกล่าวก็ถูกสืบทอดมาตามกาลเวลา แต่ความสัมพันธ์ในปัจจุบันกลับช้าขึ้น เราไม่ได้มีลูกกันเร็วขนาดนั้นแล้ว ทำให้บางคนเข้าใจว่าช่วงโปรโมชั่นเป็นสิ่งที่จะอยู่ตลอดไป แต่จริง ๆ แล้วมันก็เป็นแค่ธรรมชาติของผู้ชายที่ชอบเอาใจใส่ผู้หญิงแค่ตอนคบกันแรก ๆ

แล้วนิสัยที่แท้จริงก็จะปรากฏออกมาหลังหมดโปรฯ นี่แหละ

แต่ “Move on” ยาก?

คุณหมอปีย์ได้อธิบายว่า รูปแบบการรักของมนุษย์ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท อันได้แก่ Secure Type, Anxious Type, Avoidance Type…

ซึ่งสามประเภทนี้เป็นการจัดแบ่งประเภทโดยใช้ทฤษฎี Attachment theory

นักจิตวิทยากล่าวไว้ว่า...เมื่อตอนเราเด็กเราจะมีความคาดหวังความรักจากคนที่ดูแลเรา (อาจจะเป็นพ่อ แม่ หรือพี่) ซึ่งเราอาจจะได้หรือไม่ได้ แต่รูปแบบความหวังและความสมหวังในวัยเด็กจะตามติดตัวจนกำหนดรูปแบบความสัมพันธ์เมื่อเรามีความรักในเวลาต่อมา... ซึ่งรูปแบบความหวังและความสมหวังดังกล่าวได้ถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามทฤษฎี Attachment theory

1.ได้ความรักเต็มเปี่ยม... Secure Type

-พ่อแม่ให้ความรักความเอาใจใส่ ทำให้เป็นคนมีความมั่นใจในตัวเองและความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง

2.ไม่ได้รับความรัก... Avoidance Type

-ครอบครัวไม่มีเวลาให้หรือมีความรุนแรง ทำให้กลายเป็นคนปิดกั้นความรู้สึกเพราะกลัวเสียใจ และไม่ต้องการใครเข้ามาในชีวิต          

3.ได้รับบ้าง ไม่ได้รับบ้าง... Anxious Type

-ครอบครัวใส่ใจบ้าง ไม่ใส่ใจบ้าง ทำให้เป็นคนที่ขาดความมั่นใจว่าได้รับความรักจริงหรือเปล่า กลัวคนทอดทิ้ง

ซึ่งสาเหตุของอาการ Move on ยาก มันก็มาจากบุคลิกประเภทที่ 3 นั่นเอง...

จมอยู่กับอดีต... และเอาแต่โทษตัวเอง

ถึงจะแก้ไขยากเพราะบุคลิกแบบที่ 3 ไม่ค่อยจะรู้ว่าตัวเองเป็น และไม่ได้เป็นเพราะเขาอยากเป็น แต่สภาพแวดล้อมที่ไม่ค่อยยอมรับในตัวเขา ทำให้เขาขาดความมั่นใจ ดังนั้นทางออกที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้บุคลิกแบบที่ 3 มีความมั่นใจมากขึ้นก็คือ ต้องรู้จักให้กำลังใจตัวเอง และพาตัวเองไปอยู่ในที่ที่สังคมยอมรับ เพื่อให้มีความมั่นใจมากขึ้น

ความเจ้าชู้มันอยู่ในสายเลือด

วิทยาศาสตร์สามารถอธิบายได้ว่าทำไม ความรักใด ๆ ล้วนร้าวฉานจากความเจ้าชู้...

ยีนส์ของพวกเราทุกคนล้วนดิ้นรนเพื่อสืบทอดยีนส์ของตัวเอง... ด้วยความที่ผู้หญิงเป็นคนคลอดลูก ยังไง ๆ ครึ่งหนึ่งของเด็กคือมียีนส์ของแม่อยู่แล้วแน่นอน แต่ผู้ชายที่ไม่มีความแน่นอนว่านั่นลูกฉันจริงหรือเปล่า จึงพยายามมีผู้หญิงหลาย ๆ คน (เจ้าชู้นั่นแหละ) เพื่อเพิ่มโอกาสของตัวเอง และด้วยความที่ทุกอย่างถูกถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ไม่เว้นแม้กระทั้งนิสัยเจ้าชู้ จึงเรียกได้ว่าผู้ชายทุกคนมี “ยีนส์เจ้าชู้” อยู่ในตัวแต่จะมากน้อยแล้วแต่คน ...และคุณหมอปีย์ได้พูดอย่างติดตลกว่า ให้พูดง่าย ๆ ก็คือผู้ชายมี 2 สปีชีส์ คือสปีชีส์เจ้าชู้ กับสปีชีส์ไม่เจ้าชู้

และด้วยธรรมชาติตั้งแต่สมัยโบราณ ผู้หญิงต้องการคนดูแลเวลาท้องเวลาคลอดลูก ถ้าสมมติผู้ชายเจ้าชู้จนเวลาดูแลตัวเองลดลง แน่นอนว่าไม่มีผู้หญิงคนไหนอยากได้ผู้ชายที่ไม่ดูแลตัวเอง... การที่ผู้หญิงปัจจุบันทนอยู่กับคนเจ้าชู้ไม่ได้จึงเป็นเรื่องปกติ

แต่เจ้าชู้สามารถแก้ไขได้?

อาจจะยากเพราะมันเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ชายมีความสุข มีความบันเทิง มันเหมือนเป็นสันดาน เป็นสิ่งที่มักทำไปโดยไม่รู้ตัว ต้องมีจิตใจที่ตั้งมั่นมาก ๆ พยายามรู้ตัวและห้ามตัวเองบ่อย ๆ เพื่อที่จะค่อย ๆ ใส่นิสัยไม่เจ้าชู้เข้าไปแทน การนั่งสมาธิก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยในการย้ำเตือนตัวเอง

แต่สุดท้ายชีวิตมันก็ต้องมีทะเลาะกันบ้าง...แต่ต้อง “ทะเลาะให้เป็น”

การทะเลาะกันเป็นเรื่องปกติ เพราะคนเรามันต้องมีบ้างที่มีเรื่องขัดใจกัน คู่ที่ไม่เคยทะเลาะกันต่างหากที่จะแตกหักกันในที่สุด เพราะการอดทดมันมีขีดจำกัด แต่ถ้าเราทะเลาะกันอย่างมีเหตุมีผล อาจจะรุนแรงในตอนแรก แต่สุดท้ายเราจะเคลียร์กันและทำให้เราเข้าใจกันมากขึ้น

 

ร่วมสนับสนุนโครงการเกลา 🥺 ให้อยู่คู่สังคมไทยได้อย่างยั่งยืน

กด Subscribe 👉🏻 https://bit.ly/3u5JvVI เพื่อเป็นกำลังใจและสนับสนุนคลิปใหม่ๆ 🔔 กดกระดิ่งแจ้งเตือนคลิปใหม่ๆ ส่งตรงถึงคุณให้ได้รับชมก่อนใคร ติดตาม เกลา นิสัยอันตราย ในโซเชียลอื่นๆ ได้ตามนี้เลยค่ะ
📞 โฆษณาหรือสปอนเซอร์
partner@klao.show
084-645-9656
⭐️ อินฟูเอนเซอร์
info@klao365.org
084-645-9656
🛍️ สั่งซื้อสินค้า
🎁 สนับสนุนโครงการ
💧ธนาคารกรุงไทย 6780224332
ชื่อบัญชี โครงการเกลานิสัยอันตราย โดย น.ส.ปนัดดา ตะโยเค และน.ส.ณัฐณิชา อัศดาสุข
©2017-2021 klao365.org All Rights Reserved.

ติดต่องานโฆษณาหรือสปอนเซอร์เกลา

084-645-9656
sales@klao365.org