Talk show หัวข้อ "เกลานิสัยให้ปัง" โดย ครูเงาะ รสสุคนธ์ กองเกตุ
เหตุการณ์ไม่สามารถกำหนดคนได้ การตีความต่างหากที่เป็นตัวกำหนด
การตีความมีหลายแบบ แต่ครูเงาะยกตัวอย่างแค่ 3 แบบ แบบแรก…ระแวงคนอื่นคิดว่าเขาจับผิด คิดไม่ซื่อกับเรา แบบสอง… โทษตัวเอง ทุกอย่างคือความผิดของฉัน จนถอดใจ แบบสาม…ถือว่าเป็นคนติที่ควรแก้ไขจึงนำไปพัฒนาตนเอง คุณคิดว่าแบบไหนล่ะที่ชีวิตของเราพัฒนาไปได้ไกล…ก็ต้องตีความแบบสามอยู่แล้ว …เพราะคนที่ระแวงจนกลัวไปหมดทำอะไรก็ไม่มีความสุขหรอก ส่วนคนที่เอาแต่โทษตัวเองก็เช่นกัน…
… แล้วอะไรที่ทำให้การตีความของเรามันต่างกันนะ?
เราตีความว่าการเคร่งขรึม…คือความทางการเพราะเราเชื่อว่ามันต้องเคร่งขรึม…
ความเชื่อ… เชื่อว่าอย่างนู้น เชื่อว่าอย่างนี้ ทำให้เราคิดว่ามันต้องเป็นแบบนี้แน่นอน! นั่นแหละ…ที่มาของการตีความอัตโนมัติของเรา…มาจากความเชื่อไงล่ะ
ครูเงาะกล่าวว่าความเชื่อของเรามาจาก 3 ทาง หนึ่ง…สิ่งแวดล้อมสังคมรวมถึงวัฒนธรรม สอง…การเลี้ยงดู สาม…ประสบการณ์ …แต่ความเชื่อของครูเงาะมาจากไอดอลของตัวเองหนึ่งอย่าง อย่างครูเงาะก็คือพ่อผู้เป็นทหารของครู และ “ความกลัว” หนึ่งอย่าง
…และที่สุด ของ “ความกลัว” ของมนุษย์
เมื่อเราไม่ดีพอ …เท่ากับไม่มีใครต้องการเรา หรือก็คือไม่มีใครรัก…สองอย่างนี้มันพวงมาด้วยกันเสมอ ดังนั้นเพื่อที่จะดีพอจึงทำทุกอย่าง เพื่อพิสูจน์ว่าตัวเองมีที่ยืน…ว่าตัวเรานั้น “มีตัวตน”
…แต่ทางกลับกันมันกลายเป็นว่าเรากำลังทำลายตัวเอง
อย่างครูเงาะที่เคยขอพ่อให้เลิกเหล้า โดยการถามว่ารักตัวเองมั้ย แต่คำตอบกลับเงียบ… ในตอนนั้นครูเงาะรู้สึกอาย และคิดว่าพ่อคงไม่รัก คิดว่าไม่น่าขอความรักจากเขาเลย… จนสุดท้ายก็กลัวที่จะรัก หรือแสดงความรัก สร้างความก้าวร้าวออกมาเคลือบภายนอก ทั้ง ๆ ที่ตัวเองก็ไม่ได้ตั้งใจจะทำแบบนั้น
…เราเอาแต่พยายามที่จะหาความรักจากคนอื่น จนลืมที่จะมอบความรักให้ตัวตนของเรา
ในตอนนั้น…ถ้าครูเงาะเปลี่ยนจากความกลัว เป็นความภูมิใจเล็ก ๆ ว่าทำไมฉันถึงได้กล้าหาญที่จะถามแบบนี้ กล้าที่เชื่อว่ามีคนที่รักเราจริง ๆ อยู่บนโลกใบนี้ เหมือนที่ครูเงาะในตอนโตเลือกที่จะเชื่อว่าในวันนั้น…พ่อที่ติดเหล้าและคิดว่าเลิกไม่ได้จริง ๆ ของครูเงาะรักครูเกินกว่าที่จะโกหก หรือปฏิเสธครูเงาะได้
….เชื่อว่าครั้งหนึ่งเราได้รับความรัก…
To be continued
Talk Show ครูเงาะ เกลานิสัยให้ปัง