อยากเก่งต้อง 'ฟังเก่ง' ตัวเต็ม เคน นครินทร์ the standard

จบเภสัชฯ แต่กลับมาทำงานเป็นนักเขียน... นี่คือ "เคน นครินทร์" คอลัมนิสต์และบรรณาธิการบริหาร The Standard เจ้าของ Podcast The Secret Sauce

เรียนไม่ตรงสาย ทำงานก็ไม่ตรงสาย

เนื่องจากไม่ใช่ทุกคนที่เกิดมาแล้วรู้ว่าฉันอยากทำอาชีพไหน หรืออยากเรียนอะไรจนกระทั่งได้ลองเรียนด้วยตัวเอง เหมือนกับพี่เคน... ที่ต้องทุกข์ ต้องท้อ เพราะพึ่งมารู้ตัวว่าไม่ได้ชอบการเรียนหรือการทำงานเป็นเภสัชกร แต่ก็ช่วยไม่ได้เพราะดันสอบติดเข้ามาแล้ว...

แต่ละคนจังหวะชีวิตไม่เหมือนกัน... บางคนอาจใช้เวลาสามปีพบว่าตัวเองชอบอะไรจริง ๆ แต่สำหรับคนที่ไม่ทัน จนทำให้ต้องเลือกเรียนอะไรสักอย่างมาสุ่ม ๆ บ้าง ตามกระแสบ้าง คนที่โชคดีอาจจะชอบมันในตอนเรียนก็ได้ แต่ถ้าคนที่ไม่ล่ะ... ก็คงรู้สึกเสียดายและทรมานไม่ใช่น้อยแน่นอน

...แต่อย่าลืมว่าชีวิตในมหาลัยมันสั้น ชีวิตวัยทำงานมันยาว

พูดให้ง่าย ๆ ก็คือถ้าคิดว่าไม่ใช่จริง ๆ ก็แค่เรียนให้มันจบไป... คือไม่ต้องเก่งมาก แค่เรียนให้ไม่แย่เกินไปจนพอเจียดเวลาให้ไปทดลองในสิ่งที่ตัวเองชอบ และคิดว่าอยากทำจริง ๆ เพราะชีวิตวัยทำงานมันยาว ถ้าเราทำในสิ่งที่ไม่ได้อยากทำ สิ่งที่เราไม่ได้เห็นคุณค่าในงานที่เราจะทำ งานที่ไม่ได้เหมาะสมกับบุคลิกของเรา ฝืนทำไปก็รู้สึกแย่กับตัวเองเปล่า ๆ สู้พยายามแบ่งเวลามาทำสิ่งที่ชอบแล้วทำมันให้ถึงที่สุดแทนดีกว่า ถึงจะน่าเสียดายความรู้ที่ไม่ตรงสาย แต่ก็ไม่เห็นเป็นไรนี่...คนเรามีความรู้ที่หลากหลายได้ ไม่จำเป็นต้องมีความรู้แค่เฉพาะสิ่งที่อยากทำ

ความรู้ไม่ใช่อุปสรรคในการทำงาน

“ถ้าคนอื่นเดิน 1 ก้าว พี่ก็เดิน 2 ก้าว” – พี่เคน นครินทร์

บางคนอาจจะคิดว่า ...เฮ้ย จบมาไม่ตรงสายแล้วจะมีความรู้ ทักษะ พอที่จะทำงานได้เหรอ ...ในเริ่มต้นอาจจะใช่ แต่ถ้าเราพยายามากกว่าคนอื่นในการที่จะเรียนรู้ให้ทัน

ถ้า 5 ปีแรกที่ทำงานไม่ได้รู้สึกว่าหนักเลย... นั่นคือปัญหาแล้ว ปัญหาที่ว่าเรายังไม่ได้ทุ่มเทกับมันมากพอ

ในช่วง 5 ปีแรกถ้ารู้สึกว่างานหนักนั้นเป็นเรื่องปกติ เพราะเรากำลังเรียนรู้ให้มากที่สุด เช่น แรกเริ่มอาจจะมาจากการทำตามคนที่มีประสบการณ์ จากคนที่เราคิดว่าเขาทำงานดี จากนั้นเก็บรายละเอียดให้มากที่สุด ทำความเข้าใจคู่แข่งและสนามของเราให้มากที่สุด เพราะเราไม่รู้จึงต้องทำงานเพื่อเรียนรู้มากกว่าคนอื่น อาศัยความทะเยอทะยานเป็นแรงขับเคลื่อน จนเราสะสมความรู้และทักษะมากพอ เราจะสามารถทำให้งานของเราโดดเด่นขึ้นได้เอง...

ถ้าเราไม่รู้เราก็แค่เรียนรู้... ถ้าเราความรู้น้อยกว่าก็ขยันหาจนมากกว่า

แล้วค้นหาตัวเองยังไงให้เจอ?

อย่างที่บอกแต่ละคนมีจังหวะชีวิต ในการได้มีโอกาสเจอสิ่งที่ “เป็นตัวเอง” ต่างกัน ...บางคนอาจจะสองครั้งก็เจอ แต่บางคนรอเท่าไหร่ก็ไม่มา นั่นเป็นสาเหตุว่าทำไมเราถึงควรออกไปหามัน ...ออกไปหา “โอกาส” ในการพบปะตัวเองให้เจอ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนที่หลากหลาย กิจกรรมต่างหลาย ๆ แบบ องค์ความรู้ต่าง ๆ แล้วสุดท้ายเราก็จะรู้เองว่าเราชอบอะไร เก่งอะไร เหมาะสมกับอะไร

วงกลมของพี่เคน

คุณค่าของงาน เปรียบได้เหมือนวงกลมของพี่เคน ซึ่งประกอบด้วย 3 วง เล็ก กลาง ใหญ่

วงเล็ก...ทำงานเพื่อตัวเอง

นี่เปรียบเสมือนช่วงชีวิตวัยเริ่มทำงาน... ทำเพราะชอบ ทำเพราะรัก ทำเพราะท้าทาย เป็นการตอบสนองต่อตัวเราเพียงคนเดียว ...เป็นเพียงวงกลมเล็ก ๆ ที่มีค่าแค่สำหรับเรา

วงกลาง... ทำงานเพื่อคนรอบข้าง

นี่เปรียบเสมือนช่วงชีวิตวัยทำงานไปได้สักพักแล้ว... คราวนี้เราจะทำเพื่อคนรอบตัว ไม่ว่าจะเพื่อพ่อ เพื่อแม่ เพื่อให้เจ้านายเราชม... คราวนี้เป็นวงกลมที่ใหญ่ขึ้น เพราะเริ่มทำคุณค่าให้คนอื่น

วงใหญ่... ทำงานเพื่อสังคม

นี่เปรียบเสมือนช่วงชีวิตวัยทำงานที่ทำจนรู้สึกว่าอยากหาอะไรมาเติมเต็มตนเอง... เมื่อมีเงิน มีตำแหน่งที่น่าพอใจแล้ว มนุษย์จะเริ่มหาอะไรก็ตาม ที่มาเติมเต็มตนเองจากการให้ผู้อื่น ...สุดท้ายนี้วงกลมจะใหญ่ที่สุดเพราะเป็นการสร้างคุณค่าให้สังคม ...ให้สิ่งดี ๆ กับทุกคนไม่ว่าใครก็ตามด้วยความปรารถนาดี

ซึ่งวงกลมทั้งสามวงต่างก็เล็กใหญ่กันไปตามแต่สถานการณ์ของแต่ละคน ...เพราะบางคนอาจจะให้ความสำคัญกับสามอย่างนี้ในอัตราส่วนที่ต่างกัน ดังนั้นชีวิตที่สมดุลจึงไม่มีจริง

"Work Life Balance Flow"

แบ่งเวลาทำงานอย่างสมดุลไม่มีจริงบนโลก เพราะบางครั้งชีวิตวัยทำงานมันก็ต้องมีปัญหาเกี่ยวกับงานจนไม่สามารถจัดการให้ตามเวลาได้ อย่างเช่น หมอศัลยกรรม ที่ต่อให้เป็นเวลากินข้าวก็ต้องทำงาน ถ้ามีคนไข้เข้า เพราะมันเป็นเหตุจำเป็น ดังนั้นต่อให้จัดการเวลาดีขนาดไหน ก็ไม่สามารถทำให้งานกับชีวิตส่วนตัวสมดุลได้ ...แต่เราสามารถมองให้มันเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตได้ เพื่อที่จะทำให้เรารู้สึกว่างานไม่ใช่สิ่งที่หนักหน่วง ไม่ใช่เรื่องเครียด... เป็นแค่สิ่งที่ต้องทำเหมือนเรื่องในชีวิตประจำวัน

การตั้งคำถามที่ดีมาจากการฟังที่ดี

การตั้งคำถาม ...นำไปสู่สิ่งใหม่ ๆ เสมอ

เหมือนกับนิวตันที่ถามว่าทำไมแอบเปิ้ลถึงตกลงมา เหมือนนักสัมภาษณ์ที่สามารถหาประเด็นใหม่ ๆ ได้จากคำถามไม่กี่คำถาม... ทุกครั้งที่ถามเราต้องเชื่อว่า ทุกปัญหา มีโอกาสให้เราค้นหาแนวทางใหม่ ๆ แค่ต้องรู้จักฟังปัญหาเหล่านั้นให้ดี ฟังบ่อยจนเชี่ยวชาญ แล้วเราจะสามารถจับประเด็นใหม่ ๆได้เอง

ปัญหาของคนไทย คือการไม่ฟัง

คนที่คิดไม่เหมือนเรา คือคนที่ผิด... ปัจจุบันก็ยังเป็นกันอยู่จึงเป็นปัญหา

ถ้าไม่ฟังกันจะเข้าใจกันได้อย่างไร... อย่างที่บอกไปการฟังที่ดีจะนำไปสู่การตั้งคำถามที่ดี และคำถามที่ดีจะนำไปสู่คำตอบที่ดี... ปัญหาในปัจจุบันก็เช่นกัน ปัญหาบางอย่างมันก็ไม่สามารถแก้ด้วยมุมมองเดียว สิ่งใหม่ ๆ ก็ไม่สามารถเกิดได้จากการคิดอยู่เองฝ่ายเดียว

เราก็ต้องกล้าที่จะฟังก่อน...แล้วหาทางออกไปด้วยกัน

ทำไมเราไม่เกลาตัวเองก่อนเกลาคนอื่น?

 

ร่วมสนับสนุนโครงการเกลา 🥺 ให้อยู่คู่สังคมไทยได้อย่างยั่งยืน

กด Subscribe 👉🏻 https://bit.ly/3u5JvVI เพื่อเป็นกำลังใจและสนับสนุนคลิปใหม่ๆ 🔔 กดกระดิ่งแจ้งเตือนคลิปใหม่ๆ ส่งตรงถึงคุณให้ได้รับชมก่อนใคร ติดตาม เกลา นิสัยอันตราย ในโซเชียลอื่นๆ ได้ตามนี้เลยค่ะ
📞 โฆษณาหรือสปอนเซอร์
partner@klao.show
084-645-9656
⭐️ อินฟูเอนเซอร์
info@klao365.org
084-645-9656
🛍️ สั่งซื้อสินค้า
🎁 สนับสนุนโครงการ
💧ธนาคารกรุงไทย 6780224332
ชื่อบัญชี โครงการเกลานิสัยอันตราย โดย น.ส.ปนัดดา ตะโยเค และน.ส.ณัฐณิชา อัศดาสุข
©2017-2021 klao365.org All Rights Reserved.

ติดต่องานโฆษณาหรือสปอนเซอร์เกลา

084-645-9656
sales@klao365.org