อะไรที่อังกฤษปลูกฝังนิสัยด้านการเรียนให้ปัง และเทคนิคการพูดในที่สาธารณะ | ไอติม พริษฐ์

มาเรียนรู้วิธีการพัฒนาตัวเองผ่านประสบการณ์การเรียนในอังกฤษ และเทคนิคการพูดในที่สาธารณะ กับพี่ไอติม พริษฐ์ เด็กทุนอีตัน อดีตสมาชิกชมรม Oxford Union

การเรียนที่อังกฤษได้อะไรบ้าง

ด้วยความที่ไม่เคยเรียนที่ต่างประเทศมาก่อน และไม่เคยอยู่ที่อังกฤษ จึงมีหลายสิ่งมากที่เป็นสิ่งใหม่ ๆ แต่สิ่งที่พี่ไอติมรู้สึกว่ายากที่สุดคือ “ภาษา”

“เราต้องใช้ภาษาอังกฤษที่ไม่ถนัด เพื่อไปเรียนวิชาอื่นที่ไม่เคยเรียน” -พี่ไอติม

และในอังกฤษ Gap Year ถือว่าเป็นเรื่องปกติมาก เพราะว่าถ้าเรากำลังจะเรียนมหาวิทยาลัย เราก็ควรได้เรียนในสิ่งที่มันชอบ สิ่งที่มันใช่ เพราะถ้ามันไม่ได้ชอบ เราก็จะเสียเวลาไปเปล่า ๆ ดังนั้น Gap Year อาจจะเป็นการทำงาน ท่องเที่ยว หรือออกไปทำสิ่งที่ไม่ชอบสุด ๆ ไปเลยเพื่อทบทวนตัวเอง จึงไม่ใช่สิ่งที่ผิด ถ้ามันทำให้เรารู้ว่าเราชอบอะไร เพื่อที่เราจะได้นำมันไปต่อยอดให้ตัวเองได้ไปสูงที่สุด

แต่สิ่งที่น่าประทับใจที่สุดก็คือ อังกฤษมีการปลูกฝังเรื่อง “ความหลากหลาย”

Oxford Union กับประสบการณ์ของพี่ไอติม

การที่ได้เป็นสมาชิกของ ชมรม Oxford Union ทำให้พี่ไอติมได้มีสิทธิเข้าร่วมกิจกรรม ที่มีการเชิญวิทยากรเก่ง ๆ มาโต้วาที ซึ่งจุดประสงค์ของการโต้วาทีแทนที่จะเชิญมาพูดเฉย ๆ นั่นก็เพราะต้องการแสดงให้ทุกคนได้แลกเปลี่ยนความคิดกัน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้สิ่งดี ๆ พัฒนาและต่อยอดไปด้วยกันจนเกิดความรู้ใหม่ ๆ

และอีกจุดประสงค์ก็คือต้องการให้เรารู้จักยอมรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายของผู้อื่นอย่างมีเหตุมีผล มากกว่าการนั่งฟังหรือยืนพูดเพียงอย่างเดียว

พัฒนาจุดเด่น ดีกว่ามัวมาปกปิดจุดด้อย

ความจริงทำยังไงให้จุดเด่นของเราเด่นยิ่งมาก มากกว่ามาเสียเวลาปิดจุดด้อย...เป็นสิ่งที่พี่ไอติมพูดบ่อยมากในคลิป

ถ้าเราไม่เก่งดนตรีเลย เราเสียเวลาเพื่อไปฝึกดนตรีเพื่อที่จะแค่พอเล่นได้ มันก็ก็แค่เล่นได้ ไม่ได้ดีไปกว่าใครเลย... สู้เราเอาเวลาไปพัฒนาสิ่งที่ถนัดมากที่สุด ชอบที่สุด ให้มันโดดเด่นขึ้นมายังจะดีกว่า เพราะมันช่วยสร้างประโยชน์กับมูลค่าให้กับตนเองมากกว่า....

เราไม่ได้เก่งทุกอย่าง... การมัวแต่มามองหาจุดด้อยของตัวเอง ทั้ง ๆ ที่คนอื่นก็ไม่ได้ใส่ใจมัน นอกจากจะทำให้เสียเวลาแล้ว เราเองก็ไม่ได้พัฒนาในสิ่งที่เราถนัด

เทคนิคการพูดของ ไอติม พริษฐ์

สิ่งที่สำคัญเลยก็คือ “อย่าพูดอะไรที่ไม่รู้” และต้องเตรียมตัวก่อนไปพูด หนึ่งก็คือ...ต้องรู้ก่อนว่าผู้พูดเป็นใคร เด็กวัยรุ่นก็จะเป็นกันเองหน่อย ถ้าวัยกลางคนก็ต้องทางการให้มันดูสุภาพ สองก็คือ...พูดเรื่องอะไร ให้ทำการบ้านไปก่อนเสมอ หาข้อมูลให้ครอบคลุม ...ในตอนที่กำลังพูดก็ต้องคอยดูปฏิกิริยาของคนฟัง สมมติถ้าคนฟังเบื่อ เราก็ต้องพร้อมยืดหยุ่น ปรับเนื้อหาให้มันดูน่าสนใจขึ้นเพื่อให้เขาสนใจ

ถ้าเกิด “ลืม” ...สิ่งที่จะพูดกลางงาน

ลืมอะไรก็ใจเย็น ๆ ให้หยุดเพื่อหายใจเข้าออกพักนึงเพื่อนึกออก แต่ถ้านึกไม่ออกก็ไม่เป็นไรปล่อยมันและพูดต่อไป ...เพราะสิ่งที่คนฟังอยากฟังไม่ได้อยากฟังเนื้อหาที่มันครอบถ้วนเป๊ะ ๆ แต่คนฟังอยากฟังอะไรที่มันน่าฟังเพราะฉะนั้น อย่าไปเสียเวลากับมันจนทำให้การพูดดูติดขัดเลย

ลำดับอาวุโส กับการทำงาน

ความแตกต่างระหว่างการทำงานและการเรียน ก็คือเวลาเราทำงานเราไม่ได้ทำ “คนเดียว” อีกต่อไป...

ตอนเรียน...เรียนคนเดียว ได้คนเดียว เกรดดีคนเดียวไม่มีปัญหา แต่ตอนทำงาน เพื่อให้งาน ๆ นึงสำเร็จด้วยดี เราต้องทำร่วมกับคนอื่น ต่อให้เก่งแทบตาย แต่ถ้าคนทำงานกับคนอื่นไม่ได้ก็ไม่มีความหมายอยู่ดี เพราะแต่ละคนล้วนมีความสามารถและทักษะแตกต่างกันเพื่อให้งานสำเร็จ การที่เราเก่ง มันเป็นแค่ปัจจัยเดียวที่ทำให้งานสำเร็จเลย เพราะงานที่สำเร็จมันประกอบด้วยหลาย ๆ อย่าง

อยากให้งานมีประสิทธิภาพ แต่กลับมีลำดับอาวุโส

ไม่เคยใช้น้องไปซื้อกาแฟ เราจะดูว่าตอนนั้นใครมีเวลาว่างและงานน้อยที่สุด แล้วจะให้คน ๆ นั้นไปช่วยซื้อกาแฟให้ทุกคน...พี่ไอติมบอก

อย่างที่บอกไปว่าแต่ละตำแหน่งแต่ละคนมีงาน มีความถนัดแตกต่างกัน มีความเร่งด่วนของงานต่างกัน ลำดับอาวุโสที่ดูอายุ แต่ไม่ดูความเร่งด่วนของงาน ทั้ง ๆ ที่การทำงานมันดูงานเป็นหลัก มันจึงช่างดูขัดแย้งกัน...

กลายเป็นว่าลำดับอาวุโสเป็นอุปสรรคต่อประสิทธิภาพของงานไปซะแล้ว...

เราทำงานร่วมกับคนหลายรุ่นได้

มันจะมีคนบางกลุ่มที่เรียกคนอาวุโสกว่าว่า “คนรุ่นเก่า” ซึ่งคำ ๆ นี้มันเป็นการแสดงตนชัดเจนว่าเราเป็นศัตรูกับเขา ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ถ้าเขาจะไม่ฟังเรา ต่อให้ความคิดของเราดีขนาดไหนก็ตาม....

นั่นเป็นสาเหตุว่าทำไมเราต้องเกลาตัวเองก่อนที่จะเกลาคนอื่น....

ทำงานอะไร ถ้าอยากให้เขาฟังเรา เราต้องฟังเขาก่อน...

พวกเรามีความหลากหลาย ไม่ว่าจะมาจากรุ่นเดียวกันหรือคนละรุ่น  อย่าใช้มาตรฐานของเราไปตัดสินเขาด้วยคำว่า “คนรุ่นเก่า” ...พวกเรามีสิทธิที่จะแสดงความคิดของเรา เขาเองก็เช่นกัน... ทำไมเราไม่ลองฟังเขาก่อน แลกเปลี่ยนความคิดกัน คนรุ่นเก่าที่เราว่า ๆ กันอาจจะมีแนวคิดที่ดีก็ได้ อะไรที่ไม่ดีก็แค่ให้เหตุผลว่าทำไม

อาจจะมีคำวิจารณ์ที่ไม่เข้าหู... แต่ถ้ามันเป็นเรื่องจริงมันก็ช่วยให้เราพัฒนาตัวเองไม่ใช่หรือ? แต่ถ้ามันไม่จริงก็ไม่ต้องเก็บมาใส่ใจ ไม่เห็นเป็นไรเลย

การแลกเปลี่ยนกันอาจจะทำให้เราได้แนวทางที่ดีกว่าของเราก็ได้

  • ทำไมเราไม่ลองฟังของคนอื่นให้มากขึ้น? มากกว่าคิดว่าทำไมคนไม่ฟังเรา
  • ทำไมเราไม่เกลาตัวเองก่อนคนอื่น?
วันที่:
26 มิถุนายน 2563
Writers:
นภพร จตุรจำเริญชัย
 

ร่วมสนับสนุนโครงการเกลา 🥺 ให้อยู่คู่สังคมไทยได้อย่างยั่งยืน

กด Subscribe 👉🏻 https://bit.ly/3u5JvVI เพื่อเป็นกำลังใจและสนับสนุนคลิปใหม่ๆ 🔔 กดกระดิ่งแจ้งเตือนคลิปใหม่ๆ ส่งตรงถึงคุณให้ได้รับชมก่อนใคร ติดตาม เกลา นิสัยอันตราย ในโซเชียลอื่นๆ ได้ตามนี้เลยค่ะ
📞 โฆษณาหรือสปอนเซอร์
partner@klao.show
084-645-9656
⭐️ อินฟูเอนเซอร์
info@klao365.org
084-645-9656
🛍️ สั่งซื้อสินค้า
🎁 สนับสนุนโครงการ
💧ธนาคารกรุงไทย 6780224332
ชื่อบัญชี โครงการเกลานิสัยอันตราย โดย น.ส.ปนัดดา ตะโยเค และน.ส.ณัฐณิชา อัศดาสุข
©2017-2021 klao365.org All Rights Reserved.

ติดต่องานโฆษณาหรือสปอนเซอร์เกลา

084-645-9656
sales@klao365.org