"เอกชัย วรรณแก้ว" ชายหนุ่มที่ร่างกายพิการ ทว่าจิตใจของเขาแกร่งมาก
เขาสามารถทำทุกอย่างที่เขาอยากทำได้ ไม่ว่าจะเป็นการพายเรือ เขียนหนังสือ
หรือวาดภาพ ถ้าอยากรู้ว่า เขาทำได้ยังไง เขามีความคิดแบบไหน ตามไปอ่านกันเลย
ครอบครัวพยายามให้เราคิดแก้ไขปัญหาทำเองทุกอย่าง ไม่ใช่หนีปัญหา
ไม่ได้เลี้ยงลูกแบบไข่ในหินหรือเลี้ยงลูกแบบลูกพิการ ครอบครัวไม่อาย
ที่จะพาไปผจญโลกภายนอก...
พ่อบอกว่า "ถ้าใครมองลูก ให้มองมันไปเลย แล้วมองว่ามันคือหัวผักกาด
ลูกคือหัวกะหล่ำปลี เดี๋ยวมันก็จะหายไปเอง"
พ่อให้กำลังใจตลอด ใครจะคิดว่าผมว่ายน้ำเป็น พายเรือได้ ขับรถอีแต๊กได้
และที่สำคัญ ครอบครัวไม่ได้ให้เรียนในโรงเรียนพิเศษ เขาให้เรียนกับเพื่อน
ที่เป็นเด็กปกติมาโดยตลอด
มีอยู่ครั้งหนึ่งไปปีนเขาคิริมันจาโร ซึ่งเป็นเขาที่สูงเป็นลำดับ 7 ของโลก กับอุณหภูมิ -25
องศาเซลเซียส อยู่ 9 วัน ถามว่าท้อไหม มันก็ท้อ ทว่าพอได้ดูคลิปในหลวง ทำ 4,000
กว่าโครงการ โดยที่ไม่ละทิ้งเลยสักโครงการ ก็มีแรงที่จะทำต่อไป ไม่ต้องไปหาไอดอล
ที่ไหนหรอก พ่อเรานี่แหละเก่งที่สุด
วาดภาพในหลวงทรงแซกโซโฟน ได้เงินมา 7 ล้านบาท ผมก็นึกถึงคำที่สมเด็จพระเทพ
เคยพูดไว้กับผมว่า "ตัวเล็ก ถ้าเราไม่รู้จักให้ ก็อย่าไปรับนะลูก" ตอนแรกก็ฝันเฟื่อง
จะซื้อบ้าน ซื้อรถ ไปดูแมนยู สุดท้ายก็เอาเงินไปช่วยเหลือคนอื่น
การให้ที่ได้ความสุข คือ สายตา รอยยิ้ม ที่เขาได้รับจากเรา มันเหมือนเมื่อก่อน
ที่เราไม่มี แล้วผู้ใหญ่ที่เขามี เขาก็ให้เรา
รู้สึกว่าเราไม่ใช่ขอทาน ถ้าจะมาซื้องานเพราะสงสาร ก็ไม่ขาย ใครจ้างไม่เคยเก็บเงินก่อน
คุณไม่พอใจ คุณก็ไม่ต้องรับงานเรา
งานคือหน้าตาของเรา การที่จะออกไปสักงาน เราต้องเขียนให้มันเต็มร้อย
ทำให้มันเต็มที่ เรามองงานของเราให้มีคุณค่า ถ้าเรายังไม่ชื่นชมงานของตัวเอง
ใครจะชื่นชมเรา
1.เกรดจะตัดอยู่ 2 เกรด คือ A กับ B
2.ตก ไม่มี summer
3.กำหนดส่งตอนไหน ก็ส่งตอนนั้น
ถ้าไปจ้างคนอื่นเขียนงานให้จะทิ้งเลย เพราะจำเส้นของเด็กได้
ทว่าถ้าวาดมาห่วย ไม่เป็นไร พัฒนากันได้ แต่ขอให้เต็มที่กับงานที่ส่ง
อันดับแรก คือ คุณต้องรักมัน เรื่องฝีมือหรือเทคนิคสอนกันได้
ตอนเรียนอยู่ปี 3 อาจารย์สั่งงานขนาด 1x2 เมตร ให้ทำ 1 ชิ้น / สัปดาห์
อาจารย์หลายท่านถามว่า เอาเวลามากกว่าคนอื่นไหม เอางานชิ้นเล็กกว่าคนอื่นไหม
ผมก็ตอบว่าไม่ เพราะเดี๋ยวเพื่อนจะอ้างเอาได้ แม้จะต้องใช้เวลามากกว่าคนอื่นก็จะทำ
เพื่อนทำงาน 1 ชั่วโมง ผมทำ 3 ชั่วโมง
เช่น ถ้าเรามีอีโก้ ก็ลดอีโก้ลงหน่อยไหม เราคิดว่างานเราสวย สวยจริงหรือเปล่า
ลองให้คนอื่นติชมบ้าง แล้วก็เอามาพิจารณาว่ามันใช่ไหม เรียนรู้ไปเรื่อย ๆ
แล้วเอามาพัฒนาตัวเอง
ถ้าเราสำรวจแล้ว รู้ว่ายังไม่มีอะไรแล้วค่อยเติม บางคนชอบพูดว่าไม่สวย ไม่หล่อ ไม่เก่ง
พี่จะถามว่า "แล้วน้องมีอะไรอะ" เราชอบมองเห็นจุดเล็ก ๆ จนมองข้ามพื้นที่ใหญ่ที่เรามี
เราชอบโฟกัสจุดสีดำ แล้วคิดว่าเราด้อยกว่าคนอื่น
"ส่งลูกมึงเรียนไปทำไม ส่งไปก็เรียนไม่จบ จบไปก็หางานทำไม่ได้ มือดี ตีนดี
มันยังตกงาน เกาะพ่อแม่กินอยู่เลย แล้วลูกมึงไปกรุงเทพ รถเยอะแยะ
โดนเหยียบตาย ใครจะไปรู้ ลูกมึงป่วย ไม่สบาย ใครจะดูแล"
ผมก็บอกกับตัวเองว่า "จะทำให้ดู" ไม่ได้เดินไปด่า แค่พูดกับตัวเอง...
เข้าไปกรุงเทพเพื่อเรียน ป.ตรี ด้วยเงิน 6,000 บาท ไปอยู่กับรุ่นพี่ นอนวันละ 2-3 ชั่วโมง
เพื่อทำงานทุกอย่าง ยกเว้นสิ่งผิดกฎหมาย ตอนแรกก็ไม่มีใครจ้าง
พอวันหนึ่งที่เขางานเยอะ ได้ลองแบ่งมาให้เราทำดู ปรากฏว่าเราทำได้ หลังจากนั้น
ได้มีโอกาสไปออกโทรทัศน์ ได้รับความกรุณาจากสมเด็จพระเทพที่ส่งเสียให้เรียนจนจบ
ป.ตรี และต่อด้วย ป.โท
ปัจจุบันแม่ผมอยากเปิดโทรทัศน์ ให้คนเหล่านั้นดู ว่าลูกเขาทำได้
ดังนั้น ให้เอาคำดูถูกมาเป็นแรงผลักดัน แบบเรานี่แหละ จะทำให้เขาดู
เราจะใช้อะไรมาตัดสิน มาเป็นปรอทวัดว่า คนนี้ดี คนนั้นไม่ดี คนนี้โง่ คนนั้นฉลาด
การที่เราจะตัดสินใครสักคน เราต้องรู้จักเขาจริง ไม่ได้ดูแค่เปลือกนอก เดี๋ยวนี้คนแต่งตัวดี
เป็นขโมยเยอะแยะ และการที่เขาไม่ได้เรียนมาสูง ก็ไม่ได้แปลว่าเขาโง่
ยกตัวอย่าง ช่างที่ซ่อมทีวี เขาก็ไม่ได้เรียนมาสูง ทว่าเขารู้ว่าจะต้องซ่อมยังไง
ตัวไหนมีปัญหา ในขณะที่คนที่เรียนมาสูงบางคน ยังติดตำรา ต้องเปิดหนังสือก่อน
ถึงจะซ่อมได้
ถ้าคุณยังสอนตัวเองไม่ได้ ยังปรับเปลี่ยนตัวเองไม่ได้
คุณจะให้คนอื่นเขาปรับเปลี่ยนตัวเองได้ยังไง
สิ่งที่เห็นได้ชัดเลย คือ ครูในโรงเรียนหลายคน ที่เป็นฝ่ายปกครอง ยังสูบบุหรี่
แล้วจะห้ามเด็กได้ยังไง พ่อหลายคนบอกลูกว่า อย่าดื่มเหล้า มันไม่ดี
แล้วทำไมคุณยังดื่ม การพนันเป็นสิ่งไม่ดี แล้วแม่ยังเล่นหวยไหม
เด็กวัยรุ่น อะไรที่เขาไม่เคยเห็น เขาก็อยากเห็น อยากลองทำด้วยตัวเอง
บางทีมันก็ดีเหมือนกัน เขาจะได้รู้ว่ามันไม่ดี ครั้งต่อไปจะได้ไม่ทำอีก