ปลุกชีวิตที่พัง ด้วยพลังของการจัดเวลา ( Eisenhower Matrix ) | เกลา นิสัยอันตราย

เคยเป็นไหมทำงานเท่าไหร่ งานก็ยิ่งเยอะขึ้นกว่าเดิม เจองานเร่งงานร้อนมาบ่อยๆ ไม่มีสมาธิเวลาทำงานเลย ปัญหาเหล่านี้ที่เกิดขึ้นอาจเป็นเพราะเรายัง จัดเวลา ไม่เป็น

มีคนเคยพูดว่าเงินสามารถซื้อสิ่งของที่อยู่ในโลกใบนี้ได้ทุกอย่าง ยกเว้นอย่างเดียวคือเวลา เวลาเป็นสิ่งที่ทุกคนบนโลกใบนี้มีเท่ากันทุกคน 24 ชั่วโมง แต่จะมีสักกี่คนที่จะจัดการเวลานี้ให้เป็นประโยชน์ได้จริง ๆ ช่วงเวลาทำงานคือ 8 ชั่วโมง ทุ่มเทเวลาให้กับการทำงาน พลังงานชีวิตก็ไม่พอที่จะทำอะไรต่อหลังจากนั้น หรือบางคนมีเวลาทำงานเท่ากับคนอื่น 8 ชั่วโมงเหมือนกัน แต่งานที่ทำไม่ค่อยมีประสิทธิภาพเท่าไหร่ เพราะเป็นคนรอบรู้เรื่องของทุกคน ยกเว้นเรื่องงานที่ต้องทำ

การบริหารเวลา

วันนี้เราจะพาทุกคนกลับไปย้อนคิดกับตัวเอง เรื่องการบริหารเวลาเพื่อให้ชีวิตมี 'ความสุข' ในแบบที่คุณอยากเป็น ปัญหาที่หลายคนเจอไม่ว่าจากตัวเองหรือเพื่อนร่วมงานส่วนใหญ่มักจะเกิดจากการทำงานไม่ได้ผลตามที่ต้องการ งานออกมาไม่มีคุณภาพ เพราะเวลาจำกัดหรือโฟกัสเวลาไปกับสิ่งเงินมากเกินไปที่ไม่ใช่เนื้องานจริง ๆ

3 อย่างที่ทำให้งานของคุณไม่มีประสิทธิภาพ

1. ทำงานไม่ถูกเวลา

มักเอาเวลาไปใช้กับเรื่องบันเทิงในชีวิต การพบปะสังสรรค์ การจิบกาแฟ กินคุกกี้ ทานของว่าง เล่นโซเชียล เพลิดเพลินจนลืมเวลา พอถึงเวลาเลิกงาน งานที่ต้องทำก็ดันทำไม่เสร็จ ก็เลยขอต่อเวลาอีกสักแป๊บช่วงหลังเลิกงานเพื่อทำงานต่อ ฟังดูเป็นคนขยันใช่ไหม แต่เปล่าเลย คุณกำลังกินเวลาที่จะสามารถเอาไปใช้ต่อยอดยกระดับพัฒนาชีวิตของคุณ

การบริหารเวลา

2. ทำงานไม่ถูกวิธี

งานที่รับมอบหมายเหมือนกันกับเพื่อนในทีม คุณทำมันออกมาช้ากว่า ทำมันออกมาไม่ได้ดี เป็นไปได้ไหมว่าคุณทำงานผิดขั้นตอน ผิดลำดับ หรือแม้แต่มีการพูดคุยกับเพื่อนในทีมน้อยก็ตาม แต่ถ้าเราได้มองเห็นคนที่คอยแนะนำแนวทาง คนที่เคยประสบความสำเร็จมาแล้ว อย่างเพื่อนของคุณ คุณก็จะสามารถทำงานนี้ได้ผลตามที่คาดหวังไว้อย่างแน่นอน

การบริหารเวลา

3. ไม่ยอมทำงาน

เคยรู้สึกไหมว่า งานนี้ไม่ยากเลย เดี๋ยวค่อยทำก็ได้ ไว้ใกล้เวลาส่งงานค่อยมาทำ เอาเวลาไปทำอย่างอื่นก่อนดีกว่า เป็นบุคลิกนิสัยของคนชอบผัดวันประกันพรุ่ง รอฤกษ์งามยามดีถึงค่อยทำงาน เป็นกระบวนการคิดเข้าข้างตัวเอง ประเมินความสามารถของตัวเองไว้สูง บางคนก็สามารถควบคุมมันออกมาได้ดี แต่หลายคนก็ทำมันพลาด เพราะบางทีโอกาสที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้า เราก็ดันทำมันพัง เพราะผัดวันประกันพรุ่ง เราคิดว่ามันง่าย พอถึงวันใกล้ถึงวันส่ง ดันมีรายละเอียดของงานที่ต้องใช้เวลาดำเนินการอีกหลายวัน ส่งผลให้เกิดทัศนคติที่ไม่ดีต่อหัวหน้าและกับตัวเองด้วย

ถ้าให้พูดถึงการบริหารจัดการเวลา ก็คงต้องกล่าวถึง Dwight Eisenhower  ประธานาธิบดีคนที่ 34 ของสหรัฐอเมริกา ที่กล่าวไว้ว่า What is important is seldom urgent and what is urgent is seldom important. หรือสิ่งที่สำคัญมักจะไม่ค่อยเร่งรีบและสิ่งที่เร่งรีบมักจะเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยสำคัญ

การบริหารเวลา

The Eisenhower box

การบริหารเวลาที่ดีเราสามารถศึกษาจากเครื่องมือที่ชื่อว่า The Eisenhower box ที่ช่วยให้คุณได้กลับมาถามตัวเองว่างานที่ทำอยู่นั้นสำคัญหรือไม่ ซึ่งมันจะส่งผลต่อเป้าหมายของเรา การบริหารเวลาโดยใช้หลักทั้งสี่ประเภทอยากให้ทุกคนเอามาประยุกต์ใช้กับการทำงานหรือใช้ในชีวิตประจำวัน

การบริหารเวลา

ถ้าคุณยังแยกไม่ได้ว่างานของคุณอยู่ในช่องไหน คุณต้องถามตัวเองอีกครั้งว่าคุณกำลังทำอะไรอยู่และมีเป้าหมายอะไร อย่างน้อยก็ทำให้สิ่งที่คุณทำอยู่นั้นชัดเจนขึ้น นอกจากนี้คุณอาจจะเริ่มการทำ To Do List ควบคู่ไปด้วยเพื่อให้คุณมีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น

การบริหารเวลา

การทำ To Do List คือ การดึงข้อมูลในสมองของเราออกมาทั้งหมดและการเขียนเป็นรายการลงไปในกระดาษหรือที่ที่เรามองเห็นได้ ซึ่งหลักการเขียน To Do List ตามหลัก GTD

การบริหารเวลา

บทความที่เกี่ยวข้อง:

จะทำให้สมองคุณปลอดโปร่งเพราะการได้บันทึกสิ่งที่เราจะทำ ถ้าคุณเป็นคนชอบเรียนรู้แต่ไม่ยอมปฏิบัติจริงสักที สุดท้ายแล้วการบริหารจัดการที่ดีก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ขอแค่คุณคิดและลงมือทำ ใช้ข้ออ้างให้น้อย ทำให้มาก แล้วชีวิตของคุณจะเปลี่ยนไปในทางที่ดีอย่างแน่นอน

วันที่:
10 กรกฎาคม 2563
Writers:
เอกปวีร์ สีฟ้า
 

ร่วมสนับสนุนโครงการเกลา 🥺 ให้อยู่คู่สังคมไทยได้อย่างยั่งยืน

กด Subscribe 👉🏻 https://bit.ly/3u5JvVI เพื่อเป็นกำลังใจและสนับสนุนคลิปใหม่ๆ 🔔 กดกระดิ่งแจ้งเตือนคลิปใหม่ๆ ส่งตรงถึงคุณให้ได้รับชมก่อนใคร ติดตาม เกลา นิสัยอันตราย ในโซเชียลอื่นๆ ได้ตามนี้เลยค่ะ
📞 โฆษณาหรือสปอนเซอร์
partner@klao.show
084-645-9656
⭐️ อินฟูเอนเซอร์
info@klao365.org
084-645-9656
🛍️ สั่งซื้อสินค้า
🎁 สนับสนุนโครงการ
💧ธนาคารกรุงไทย 6780224332
ชื่อบัญชี โครงการเกลานิสัยอันตราย โดย น.ส.ปนัดดา ตะโยเค และน.ส.ณัฐณิชา อัศดาสุข
©2017-2021 klao365.org All Rights Reserved.

ติดต่องานโฆษณาหรือสปอนเซอร์เกลา

084-645-9656
sales@klao365.org